7 ข้อสังเกตเบื้องต้น ในการ ตรวจสอบงานก่อสร้าง อัปเดต 2567

ตรวจสอบงานก่อสร้าง
ตรวจสอบงานก่อสร้าง อัปเดต 2567 เพราะ งานก่อสร้าง คือ กิจกรรมการกระทำให้เกิด การประกอบ การติดตั้ง หรือ การดำเนินการอื่นใด เพื่อก่อให้เกิดเป็นสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ อาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือสิ่งอื่นใด ที่มีลักษณะคงทนถาวร และใช้ประโยชน์ได้
วันนี้ UPM นำความรู้ดีๆมาฝากกับ 7 ข้อสังเกตเบื้องต้น ในการตรวจสอบงานก่อสร้าง มีอะไรบ้างที่เราต้องสังเกตให้ดี ไปดูกันเลย
ตรวจสอบงานก่อสร้าง
ตรวจสอบงานก่อสร้าง

งานก่อสร้าง คือ อัปเดต 2567

งานก่อสร้าง คือ กิจกรรมการกระทำให้เกิด การประกอบ การติดตั้ง หรือ การดำเนินการอื่นใด เพื่อก่อให้เกิดเป็นสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ อาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือสิ่งอื่นใด ที่มีลักษณะคงทนถาวร และใช้ประโยชน์ได้ รวมถึง การปรับปรุง การรื้อถอน การต่อเติม และการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ งานก่อสร้างเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากของส่วนราชการ โดยมีโครงการหลายขนาดตั้งแต่โครงการขนาดเล็ก จนถึงโครงการขนาดใหญ่มาก ความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริตแต่ละโครงการจึงขึ้นอยู่กับขนาดโครงการ ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมางานก่อสร้างของส่วนราชการเกิดการทุจริตจำนวนมาก และเกิดการทุจริตได้ทุกขั้นตอนของงานก่อสร้าง

โดยในวันนี้เราได้รวบรวมข้อสังเกตเบื้องต้นในการตรวจสอบงานก่อสร้าง เพื่อที่จะให้ประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเข้าไปเฝ้าระวังและตรวจสอบการทุจริตในเบื้องต้นว่า วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างและวิธีการดำเนินงานก่อสร้าง มีคุณภาพหรือเป็นไปตามที่กำหนดในสัญญาหรือไม่ โดยดูสัญญาจ้างประกอบ

ตรวจสอบงานก่อสร้าง อัปเดต 2567

สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ให้ข้อมูล 7 ข้อสังเกตเบื้องต้น ในการตรวจสอบงานก่อสร้างอัปเดต 2567 ดังนี้

  1. งานก่อสร้างไม่สัมพันธ์ หรือ สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์
  2. ขนาดโครงสร้างหรือวัตถุประกอบคลาดเคลื่อนจากแบบก่อสร้างมากผิดปกติ
  3. มีการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ แต่ทั้งนั้นจะต้องพิจารณาการดูแลรักษาประกอบด้วย
  4. โครงสร้างมีการชำรุด เอียง แตกร้าว หรือมีรอยแยกจนผิดปกติ
  5. ผิววัสดุแตกร้าว หลุดร่อน ซีดเร็วกว่าปกติ
  6. ไม่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์
  7. จำนวนของงานไม่ครบถ้วนตามแบบก่อสร้าง

การวางแผนงานก่อสร้างบ้าน

ในการก่อสร้างทุก ๆ ครั้ง มีความจำเป็นต้องมีการวางแผนงานก่อสร้างบ้าน เพื่อวางแผนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การเขียนแบบ การคำนวณพื้นที่ การจัดหาวัสดุ การคำนวณงบประมาณ มีความจำเป็นต้องทำสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้สามารถทำการก่อสร้างไปได้อย่างต่อเนื่อง และมองเห็นถึงโครงสร้างในงานได้ชัดเจนมากขึ้น โดยวิธีเหล่านี้จะทำให้คุณเห็นถึงข้อผิดพลาด และให้คุณได้ทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพจากการวางแผน

การวางแผนในการก่อสร้างนั้น สามารถทำได้อย่างหลากหลายวิธี ยกตัวอย่างประเภทการวางแผนเช่น การเขียนแบบโครงสร้าง การวิเคราะห์ด้วยการคำนวณ โดยการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน เพื่อให้งานสามารถเป็นไปได้ตามเป้าหมาย และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หลักการนี้ จึงเป็นสิ่งที่หลายท่านมักเลือกทำในการก่อสร้างบ้าน โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. รวบรวมข้อมูล

เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ทำการบันทึกก่อนเริ่มก่อสร้าง ยกตัวอย่างเช่น ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของงาน ประเภทของวัสดุที่ต้องการจะเลือกใช้ และระยะเวลาในการดำเนินการ เป็นต้น

2. แบ่งฝ่ายงาน

ในการก่อสร้างบ้าน จำเป็นต้องมีการแบ่งฝ่ายงานออกให้เป็นฝ่ายย่อย เพื่อให้คุณสามารถมองเห็นปัญหาในการทำงาน และรายละเอียดของงานได้มากขึ้น

3. เรียงความสำคัญ

ควรมีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของาน ในเรื่องของประเภทการทำงาน และองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเวลาที่กำหนด

4. กำหนดเวลา

การกำหนดเวลา หรือ การคำนวณเวลาทำงาน เป็นตัวช่วยที่สำคัญ สำหรับการลงมือปฏิบัติในงานจริง ควรมีการประมาณเวลาให้เพียงพอ หรือ ใกล้เคียงมากที่สุด เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแบบแผน

5. แผนสำรอง

บางครั้งการก่อสร้างบ้านก็จำเป็นที่จะต้องมีแผนสำรองไว้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัดอุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของสภาพอากาศ วัสดุอุปกรณ์เครื่องจักร แรงงานคน ประเภทของวัสดุที่นำมาใช้ เป็นต้น

วัสดุและอุปกรณ์จำเป็นในงานก่อสร้าง

วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่

  • วัสดุพื้นฐาน คือ วัสดุที่เป็นฐานในการผลิตวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น  เหล็ก อลูมิเนียม ไม้ กรวด หิน ทราย ซีเมนต์ พลาสติก กระจก เป็นต้น
  • วัสดุผลิตภัณฑ์ คือ วัสดุที่ผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เช่น คอนกรีตสำเร็จรูป อิฐ เหล็กรูปพรรณ เหล็กเสริมคอนกรีต ลวดเหล็กอัดแรง ไม้แปรรูป ชิ้นส่วนสำเร็จรูปที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ ชิ้นส่วนสำเร็จรูปหลังคา ผนังภายในอาคาร วงกบประตู หน้าต่าง วัสดุงานตกแต่งพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน หลังคาต่าง ๆ เป็นต้น
  • เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร สามารถแบ่งได้ ดังนี้
    • งานดิน ได้แก่ รถแทรกเตอร์ (Tractors) รถตัก (Loader), รถขุดแบบตักหน้า (Power Shovel), ปั้นจั่นแบบขุดลาก (Drag line), ปั้นจั่นขุดแบบกาบหอย (Clamp Shell), รถขุด (Backhoe), รถบรรทุก (Truck) รถเกลี่ยดิน (Grader) เป็นต้น
    • านขนส่งในงานก่อสร้าง เช่น รถเข็น, รถขน-เทวัสดุ, รถยก, รถบรรทุก, รอก, สายพานลำเลียง, ปั้นจั่น เป็นต้น
    • งานคอนกรีต เช่น โรงผสมคอนกรีต โม่ผสมคอนกรีต รถคอนกรีตผสมเสร็จ รถขนเทวัสดุ สายพานลำเรียง ถังหิ้วคอนกรีต ถังพักคอนกรีต รางเทคอนกรีต เครื่องสูบคอนกรีต เครื่องสั่นคอนกรีต เครื่องยิงคอนกรีต แบบเลื่อน แบบไต่ เป็นต้น
    • งานไม้ เช่น เลื่อย สิ่ว สะหว่านเจาะรู เครื่องไสไม้ เป็นต้น
    • งานโลหะ เช่น เลื่อย สว่าน เครื่องเชื่อม เป็นต้น

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมคลิก

_____________________________________________

บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด “เราเปรียบเสมือนตัวแทนเจ้าของ” วิศวกรและทีมงานมืออาชีพประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Tel: 083 630 4013 ( คุณเบนซ์ )

Line : https://lin.ee/pvHJACE