18 เรื่อง ที่ต้อง ตรวจสอบงานก่อสร้าง อัปเดต 2567

ตรวจสอบงานก่อสร้าง

การ ตรวจสอบงานก่อสร้าง ความสมบูรณ์ของงานก่อสร้าง เป็นการตรวจสอบที่จะช่วยให้ที่ปรึกษางานก่อสร้างทราบได้ทันทีว่า ตำแหน่งที่ตรวจนั้นได้มาตรฐาน หรือมีจุดบกพร่องต้องแก้ไข ตรงไหน วันนี้ #UPM ได้มี HOW TO 18 เรื่องที่ต้องตรวจสอบในงานก่อสร้าง มาฝาก ดังนี้

เรื่อง ที่ต้อง ตรวจสอบงานก่อสร้าง อัปเดต 2567

1. การวางผัง

ตรวจสอบการวางหมุดงานให้เป็นไปตามแผนผังของวิศวกร รวมไปถึงตรวจสอบตำแหน่งการวางหมุดตำแหน่งของเสาต่าง ๆ

2. การวางเสาเข็ม

ตรวจสอบตำแหน่งและระดับการวางเสาเข็ม รวมไปถึงตรวจสอบคุณภาพของเสาเข็ม

3. การวางรากฐาน

ที่ปรึกษางานก่อสร้างจะตรวจสอบตำแหน่งฐานรากและตอม่อให้ได้ระดับ ขนาด และจำนวนที่วิศวกรได้ออกแบบไว้

4. การวางคาน

ตรวจสอบระดับการเทคอนกรีตให้ได้ตำแหน่งที่ออกแบบไว้ รวมไปถึงจำนวนของคาน นอกจากนี้ยังตรวจสอบการเตรียมพื้นที่สำหรับวางคาน ไปจนถึงตรวจงานคอนกรีตหลังจากถอดออกจากแบบหล่อแล้ว

5. การวางท่อ

ตรวจสอบแนวเดินท่อ ทั้งท่อประปา ท่อไฟ และท่อกำจัดปลวก ให้ตรงกับตำแหน่งที่กำหนดไว้ในแผนผัง รวมไปถึงทดสอบระบบท่อปลวกและท่อประปาหลังจากวางท่อแล้ว

6. การวางเสาโครงสร้าง

ตรวจสอบการวางเหล็กสำหรับเสาโครงสร้าง ให้ตรงกับตำแหน่งในแผนผังแบบก่อสร้าง และตรวจสอบแนวดิ่งของเสาโครงสร้าง

7. โครงสร้างบันได้

ตรวจสอบวัสดุที่ใช้ ขนาด และโครงสร้างทั้งหมด

8. โครงสร้างหลังคา

ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของวัสดุหลังคาว่าตรงกับขนาดที่ออกแบบหรือไม่ รวมไปถึงตรวจสอบงานโครงใต้หลังคาว่ามีการเชื่อมเหล็กและการมุงหลังคาถูกต้องหรือไม่

9. โครงสร้างผนัง

ที่ปรึกษางานก่อสร้างจังหวัดเชียงใหม่จะตรวจสอบโครงสร้างผนังทั้งแนวราบและแนวดิ่ง และตรวจสอบวิธีการก่อสร้างอิฐว่าใช้วิธีตามที่วิศวกรออกแบบหรือไม่

10. โครงสร้างอื่น ๆ

ตรวจสอบตั้งแต่ท่อไฟฟ้า, สายสื่อสาร, ท่อประปา และระบสุขาภิบาลต่าง ๆ เช่น งานวางแนวท่อในผนัง, งานวางท่อบนเพดาน, การติดตั้งกล่องไฟว่ามีตำแหน่ง ระยะ และจำนวนตามแผนผังหรือไม่, ตรวจหารอยรั่วซึมของงานประปา และตรวจสอบความเรียบร้อยของเทคนิคการร้อยสายไฟ เป็นต้น

11. การติดตั้งวงกบ

จัดการตรวจสอบระบบวงกบ ทั้งประตูและหน้าต่างทั้งหมด ด้วยวิธีตรวจสอบระดับและการตรวจสอบแนวดิ่ง รวมไปถึงเช็กวัสดุก่อสร้างที่ใช้ทำวงกบว่ามีคุณภาพหรือไม่ และการติดตั้งต้องตรงกับตำแหน่งในแผนผัง

12. การติดตั้งฝ้าเพดาน

ตรวจสอบให้ได้ระดับตามแบบที่วิศวกรออกแบบ ตรวจสอบระยะห่างของช่องว่างใต้หลังคา และทดสอบคุณภาพของวัสดุที่ใช้ทำแผ่นฝ้า สุดท้ายคือตรวจความเรียบร้อยของการเก็บงาน การเก็บรอยต่อ และการเก็บหัวตะปู

13. การปูพื้น

ที่ปรึกษางานก่อสร้างจังหวัดเชียงใหม่ จะตรวจสอบวัสดุที่ใช้ปูพื้นผิว เช่น หินอ่อน, กระเบื้อง, ไม้แท้ และไม้ลามิเนต เป็นต้น ที่สำคัญคือที่ปรึกษาจะตรวจระดับของงานปูพื้นให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดด้วย

14. การติดตั้งสุขภัณฑ์

เช็กยี่ห้อและรุ่นให้ตรงกับที่กำหนด จากนั้นจะตรวจตำแหน่งรวมไปถึงระดับที่ติดตั้ง และจะเช็กการรั่วซึมของน้ำเมื่อมีการใช้งาน สุดท้ายคือความแข็งแรงในการติดตั้ง

15. การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

เช็กความเรียบร้อยปลอดภัยของการติดตั้งปลั๊กไฟ สวิตช์ไฟ และโคมไฟ จากนั้นจะเช็กว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้งานได้จริง และจะไปตรวจสอบตำแหน่งของการติดตั้งตู้โหลดไฟฟ้า รวมไปถึงทดสอบการทำงาน

16. ตรวจพื้นที่โดยรอบก่อนการกลบดิน

ก่อนการกลบดินที่ปรึกษางานก่อสร้างจะตรวจสอบความเรียบร้อยของงานติดตั้งถังบำบัด เช็กการติดตั้งปั๊มน้ำและแท่นวาง รวมไปถึงตรวจการติดตั้งบ่อพัก และความเรียบร้อยของงานท่อใต้ดินรอบบ้าน ทั้งหมดนี้จะต้องตรงกับแผนผังและแบบแปลนที่ออกแบบมาจากวิศวกร

17. งานที่จอดรถ

ซึ่งจะรวมไปถึงงานถนนรอบโครงการด้วย ที่ปรึกษาจะตรวจสอบการบดอัดดินของถนนรอบโครงการ และจะตรวจสอบการวางเหล็ก และการเทพื้นที่จอดรถไม่ให้เกิดความผิดพลาด

18. การทาสี

เช็กคุณภาพของสี และตรวจว่ามีเฉดสี ยี่ห้อ และรุ่นตรงกับที่กำหนด จากนั้นจะเช็กความเรียบร้อยของงานทาสีทั้งภายในและภายนอก หากพบตำแหน่งที่ต้องแก้ไข ที่ปรึกษาจะแจ้งให้แก้ไขทันที

มาตรการสำหรับช่วยให้งานดำเนินต่อไปได้ด้วยดี

  • เปิดใจ และยอมรับต่อข้อเรียกร้องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้งานดำเนินต่อไปได้ เช่น การเรียกร้องวันหยุดของแรงงาน และการเรียกร้องการขึ้นค่าแรงที่สมเหตุสมผล เป็นต้น
  • เปิดใจ และยอมรับต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นค่าวัสดุก่อสร้างบางชนิด ค่าขนส่ง และค่าบริหารจัดการเมื่อมีการนำวัสดุก่อสร้างเข้ามาจากต่างประเทศ เป็นต้น

การวางแผนงานก่อสร้างบ้าน

ในการก่อสร้างทุก ๆ ครั้ง มีความจำเป็นต้องมีการวางแผนงานก่อสร้างบ้าน เพื่อวางแผนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การเขียนแบบ การคำนวณพื้นที่ การจัดหาวัสดุ การคำนวณงบประมาณ มีความจำเป็นต้องทำสิ่งเหล่านี้ เพื่อให้สามารถทำการก่อสร้างไปได้อย่างต่อเนื่อง และมองเห็นถึงโครงสร้างในงานได้ชัดเจนมากขึ้น โดยวิธีเหล่านี้จะทำให้คุณเห็นถึงข้อผิดพลาด และให้คุณได้ทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพจากการวางแผน
การวางแผนในการก่อสร้างนั้น สามารถทำได้อย่างหลากหลายวิธี ยกตัวอย่างประเภทการวางแผนเช่น การเขียนแบบโครงสร้าง การวิเคราะห์ด้วยการคำนวณ โดยการกำหนดเป้าหมายในการทำงาน เพื่อให้งานสามารถเป็นไปได้ตามเป้าหมาย และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด หลักการนี้ จึงเป็นสิ่งที่หลายท่านมักเลือกทำในการก่อสร้างบ้าน โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. รวบรวมข้อมูล

เก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ทำการบันทึกก่อนเริ่มก่อสร้าง ยกตัวอย่างเช่น ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของงาน ประเภทของวัสดุที่ต้องการจะเลือกใช้ และระยะเวลาในการดำเนินการ เป็นต้น

2. แบ่งฝ่ายงาน

ในการก่อสร้างบ้าน จำเป็นต้องมีการแบ่งฝ่ายงานออกให้เป็นฝ่ายย่อย เพื่อให้คุณสามารถมองเห็นปัญหาในการทำงาน และรายละเอียดของงานได้มากขึ้น

3. เรียงความสำคัญ

ควรมีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของาน ในเรื่องของประเภทการทำงาน และองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามเวลาที่กำหนด

4. กำหนดเวลา

การกำหนดเวลา หรือ การคำนวณเวลาทำงาน เป็นตัวช่วยที่สำคัญ สำหรับการลงมือปฏิบัติในงานจริง ควรมีการประมาณเวลาให้เพียงพอ หรือ ใกล้เคียงมากที่สุด เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแบบแผน

5. แผนสำรอง

บางครั้งการก่อสร้างบ้านก็จำเป็นที่จะต้องมีแผนสำรองไว้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัดอุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของสภาพอากาศ วัสดุอุปกรณ์เครื่องจักร แรงงานคน ประเภทของวัสดุที่นำมาใช้ เป็นต้น

อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมคลิก

_____________________________________________

บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด “เราเปรียบเสมือนตัวแทนเจ้าของ” วิศวกรและทีมงานมืออาชีพประสบการณ์มากกว่า 20 ปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

Tel: 083 630 4013 ( คุณเบนซ์ )

Line : https://lin.ee/pvHJACE